กฎหมายเบื้องต้นควรรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกขนของ การขนย้ายของและขนย้ายสินค้า

กฎหมายเบื้องต้นควรรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกขนของ การขนย้ายของและขนย้ายสินค้า

กฎระเบียบที่จะช่วยให้การขนย้ายของ เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน

ทำไมควรต้องรู้กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับการบรรทุก? ไม่ว่าคุณจะจ้าง บริษัท ขนย้ายของ หรือจ้างรถบรรทุกจำนวน 4 ล้อหรือมากกว่า 4 ล้อขึ้นไป สิ่งจำเป็นอย่างมากในระหว่างขับรถเพื่อขนย้ายสิ่งของหรือสินค้าต่างๆ ไปยังที่หมาย ก็คือกฎระเบียบการปฏิบัติตนระหว่างการอยู่บนท้องถนน เพราะหากผิดพลาดไปอาจจะทำให้การทำงานเกิดความล่าช้าเพราะเสียเวลาในการเจรจาจ่ายค่าปรับจากด่านตรวจ หรือที่แย่ไปกว่าก็คืออาจจะเกิดอุบัติเหตุทำให้สิ่งของของลูกค้าที่ขนย้ายเสียหายระหว่างทางได้ นั่นเอง

กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับรถบรรทุกขนของและการ “ขนย้ายของ” มีอะไรบ้าง?

ความจริงแล้วกฎระเบียบการขนย้ายสิ่งของโดยใช้รถบรรทุกตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไปนั้น มีการผสมผสานการนำกฎหมายหลายส่วนนำมาปรับใช้ให้เกิดความปลอดภัยทั้งบนท้องถนนเอง รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินของผู้จ้างงานและผู้ขับขี่อีกด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนำกฎหมายข้อบังคับต่างๆ มาใช้ประกอบกัน ดังนี้

        • พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ : ซึ่งเป็นกฎระเบียบว่าด้วยการใช้รถบนท้องถนน โดยในธุรกิจการให้บริการการใช้รถเพื่อขนย้ายของ นั้นมักจะนำกฎหมายหลายๆ ส่วน เพื่อนำมาประกอบการกำหนดกฎระเบียบของพนักงานขับรถขนย้าย ดังนี้

          • ตามมาตราที่ ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตราย หรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสารหรือประชาชนมาใช้ในทางเดินรถ รถที่ใช้ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจัดให้มีเครื่องยนต์ เครื่องอุปกรณ์และหรือส่วนควบที่ครบถ้วน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์, กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง, กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน, กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง และใช้การได้ดี

          • ตามมาตราที่ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผ่นป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง มาใช้ในทางเดินรถ

          • ตามมาตราที่ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควัน ละอองเคมี หรือเสียงเกินเกณฑ์ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาใช้ในทางเดินรถ

          • ตามมาตราที่ ๒๐  ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของ ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

          • ตามมาตราที่ ๗๗ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถทุกชนิดลากรถหรือจูงรถอื่นไปในทางเกินหนึ่งคัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติวิธีลากรถหรือจูงรถ และการมีเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยในการลากรถหรือจูงรถให้กำหนดในกฎกระทรวง

          • ตามมาตราที่ ๓๑/๑ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ โดยในส่วนของรถบรรทุกเพื่อการขนย้ายของ นั้น ใบขับขี่จะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

            ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท บ.2 คือ ใบอนุญาตขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคลได้ เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว)

            ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท ท.2 คือ ใบอนุญาตประเภทขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นใช้สำหรับ ขนส่งเพื่อการค้า ธุรกิจส่วนตัว ใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง การขนส่งคน สิ่งของ หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้ เช่น รถบรรทุกสาธารณะ รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง)

        • กฎหมายว่าด้วยการห้ามรถบรรทุกวิ่งพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน : เพื่อไม่ให้รถบรรทุก ขนย้ายของ ต่างๆ สร้างปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงที่เป็นการสัญจรโดยทั่วไปของคนที่ใช้รถใช้ถนน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่รถบรรทุกสามารถวิ่งได้บนท้องถนน ดังนี้

          • ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น.ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
          • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00-09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
          • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00-10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
          • ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.

        • กฎหมายการจราจร ว่าด้วยระยะเวลาการวิ่งรถบรรทุกบนทางด่วน
          • รถกระบะบรรทุกเพื่อการ ขนย้ายของ ถ้าน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. สามารถวิ่งในเขตกรุงเทพฯ ได้ไม่ติดเวลา ส่วนท้าย 2.50 เมตร จากพื้นส่วนสูง 3.00 เมตร ส่วนหน้า ห้ามเลยหัวเก๋ง
          • รถบรรทุกขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่ 113 ตร.กม. ห้ามรถบรรทุกวิ่งภายในพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษก ระหว่างเวลา 06.00 -21.00 น.
          • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
          • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
          • รถบรรทุกสารเคมี ห้ามวิ่งเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.

        • กฎหมายกำหนด ตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก    
          • รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน
          • รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน
          • รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน
          • รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกหนักไม่เกิน 50.5 ตัน

        • พ.ร.บ.การขนส่งทางบก : ที่บังคับให้ทุกครั้งที่มีการใช้บรรทุก ขนย้ายของ จะต้องมีผ้าคลุมแน่นหนาและมีอุปกรณ์ล็อคเพื่อความปลอดภัย การคลุมผ้าใบ จะต้องใช้ผ้าใบสีทึบและยึดติดกับตัวรถให้มีความแข็งแรงพอที่ไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น จนทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก หรือรถกระบะก็ตาม หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการจะต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย

          นอกจากนั้นใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ยังมีข้อบังคับเกี่ยวกับการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงเพื่อช่วยในการมองเห็นและเพิ่มความปลอดภัยขณะขับรถบรรทุกในตอนกลางคืน โดยรถบรรทุก ขนย้ายของ ทุกคันที่มีจำนวนเพลา ล้อและยางตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไปจนถึง 10 ล้อ (ยกเว้นรถลากจูง) จะต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงให้ถูกตำแหน่ง หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท

        • กฎการบังคับใช้ GPS จากกรมการขนส่งทางบก : ที่กำหนดให้ รถเมล์หรือรถทัวร์ (รถโดยสารสาธารณะ), รถลากจูง, รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ที่ใช้ ขนย้ายของ คนหรือสัตว์ ทุกคันจะต้องติดตั้งระบบ GPS เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของภาครัฐ ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความเร็ว, เวลาในการเดินรถ รวมถึงพิกัดของตัวรถ หากไม่ติดตั้งหรือไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ถือว่ามีโทษ ปรับตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท และจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถคันดังกล่าวได้ด้วย นั่นเอง

        • กฏหมายว่าด้วยการจำกัดความเร็วบนทางด่วนจาก : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ออกกฎกระทรวงกําหนดความเร็วรถ 2565 ให้ผู้ที่ขับรถในทางพิเศษจำกัดความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. เริ่มบังคับใช้เมื่อ 22 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ รถบรรทุก และรถโรงเรียน ไม่เกิน 100 กม./ชม. โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2565  

          ส่วนความเร็วบนทางด่วน หรือ “ทางยกระดับ” รถยนต์ 4 ล้อ ขับได้ไม่เกิน 100 กม./ชม. รถบรรทุก (>2.2 ตัน) สำหรับการ ขนย้ายของ และรถโดยสาร (>15 คน) ไม่เกิน 80 กม./ชม. และรถโรงเรียน-รับ-ส่งนักเรียน ไม่เกิน 80 กม./ชม

 

โดยกฎและระเบียบของ Good Move Professional Worldwide Movers ผู้ให้บริการขนย้ายสิ่งของอย่างมืออาชีพ มีกฎข้อบังคับสำหรับการสื่อสารเพื่อให้พนักงานทุกคน ตระหนักและทำตามอย่างเคร่งครัดเพื่อส่งมอบการบริการ การขนย้ายของ อย่างรวดเร็ว ราบรื่นและปลอดภัย มีดังนี้

          • กฎพนักงานข้อที่ 13 คือห้ามพนักงานเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด โดยยึดจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522

          • กฎพนักงานข้อที่ 14 ห้ามพนักงานมีการทุจริตและการลักขโมย โดยยึดจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 รวมถึงความผิดในคดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์

          • กฎพนักงานข้อที่ 16 ห้ามพนักงานบิดเบือนข่าวสารองค์กร โดยยึดจากพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จ, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง

          • ไม่รับ ขนย้ายของ ที่เป็นอาวุธปืน อาวุธสงคราม รวมทั้งชิ้นส่วนและกระสุน โดยยึดจากพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด และกฎหมายการครอบครองอาวุธโดยไม่มีใบอนุญาต

          • ไม่รับ ขนย้ายของ ที่เป็นพันธุ์ไม่สงวนทุกชนิด โดยยึดจากพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484

          • ไม่รับขนย้ายสัตว์ รวมถึงหนังสัตว์และอวัยวะซากสัตว์ โดยยึดจากพระราชบัญญัติสัตว์สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

          • ไม่รับ ขนย้ายของ ที่เป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ โดยยึดจากพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับที่3 พ.ศ. 2558

          • ไม่รับขนย้ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

          • กฎพนักงานข้อที่ 9 ระบุเกี่ยวข้องในความสุภาพและห้ามมีความขัดแย้งและทะเลาะวิวาท และเงื่อนไขบริการข้อที่ 6 เรื่องการไม่รับบริการกรณีที่ลูกค้ามีการทะเลาะวิสาทกันหรือเกิดปัญหาภายในกันเอง หรือการ ขนย้ายของ เพื่อหนีปัญหาต่างๆ โดยยึดจากกฎหมายมาตรา 295 - 300 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

          • เงื่อนไขบริการข้อที่ 7 การตรวจสอบความปลอดภัยหรือการป้องกันส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

          • เงื่อนไขบริการข้อที่ 14 ทางเดินการ ขนย้ายของ ที่มีความสุ่มเสี่ยงกับร่างกายหรือชีวิตของบุคลากร โดยอ้างอิงกับกฎกระทรวงกาหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ.2565

          • การจำกัดเวลาและพื้นที่วิ่งของรถบรรทุกขนาดใหญ่ โดยอ้างอิงจาก กฎหมายการจราจรวิ่งบนทางราบของรถบรรทุก 6 ล้อ โดยห้ามวิ่งเวลา 06.00 - 09.00 น. และ 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และกฎหมายการจราจรวิ่งบนทางด่วน โดยห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น., พิกัดน้ำหนักตามกฎหมายกำหนด คือ รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน และรถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน

 


เพราะ Good Move Professional Worldwide Movers คือผู้ให้บริการขนย้ายสิ่งของอย่างมืออาชีพ จึงใส่ใจกฎระเบียบที่จะช่วยให้สามารถมอบบริการขนส่ง ขนย้ายของ ที่มีความปลอดภัยสูงสุดให้กับลูกค้าทุกคนอย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุด

สนใจบริการขนย้ายของพร้อมให้เช่าห้องเก็บของ Good Move Storage
https://www.goodmove-th.com
โทร : 0-2114-7574
แฟกซ์ : 0-2100-4773
E-mail : info@goodmovethailand.com
Lind ID : @goodmove ( มี @ ข้างหน้า )
Facebook Inbox : https://m.me/1653262334889316


Visitors: 1,668,691